AntigPra.Com
ประมูลพระเครื่อง พระบูชา
พระเก่าไม่ทราบที่พระชุดภาคเหนือเหรียญ สร้างตั้งแต่ พศ 2531พระชุดสายอีสานพระพุทธชินราช พระพุทธโสธร พระแก้วมรกต
กระดานวัดดวงพระสมเด็จวัดต่างๆเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่านจตุคามรามเทพเหรียญ สร้างไม่เกิน พศ 2530
พระกรุพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์พระปิดตาเครื่องรางของขลังพระหล่อ-รูปเหมือน
พระบูชา-วัตถุมงคลแผ่นดินพระภาคตะวันออกและนครปฐมหลวงปู่ทวดและพระทางภาคใต้ประมูลสินค้าทั่วไป
เหรียญ สร้างไม่เกิน พศ 2530
*** กรุงเทพฯ *** เหรียญหลวงพ่อสุโขทัยไตรมิตร(หลวงพ่อทองคำ) วัดไตรมิตร รุ่นแรก ปี๒๔๙๓



ชื่อพระเครื่อง*** กรุงเทพฯ *** เหรียญหลวงพ่อสุโขทัยไตรมิตร(หลวงพ่อทองคำ) วัดไตรมิตร รุ่นแรก ปี๒๔๙๓
รายละเอียดหลวงพ่อสุโขทัยไตรมิตร(หลวงพ่อทองคำ)วัดไตรมิตรรุ่นแรก พ.ศ.2493 พิธีปลุกเสกใหญ่ สภาพสวย รับประกันความแท้100 % @@@@ พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร" หรือ "หลวงพ่อทองคำ" ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรมิตรวิทยาราม เขคสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย คืออยู่ในพระอิริยาบถนั่งสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางเหนือพระชานุ ปลายพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี หน้าตักกว้าง 6 ศอก 5 นิ้ว สูงจากฐานถึงพระเกตุเมาฬี 7 ศอก 1 คืบ 9 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 5 ตัน

แต่เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ถูกพอกปิดด้วยปูนทั่วทั้งองค์ พุทธลักษณะภายนอกำไม่งดงามหรือโดดเด่น จากหลักฐานที่ปรากฏพบว่า เคยประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดโชตินาราม หรือวัดพระยาไกรมาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ต่อมาวัดพระยาไกรขาดคนบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงตกอยู่ในสภาพรกร้างราว พ.ศ. 2474 บริษัทอีสต์เอเชียติก จำกัด ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานป่าไม้ ได้ขอเช่าที่จากรัฐบาล เข้าจัดสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมของวัดบริเวณวัดร้างแห่งนี้ มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมของวัดพระยาไกรจนเหลือแต่พระพุทธ รูปปูนปั้นขนาดใหญ่

ในขณะนั้น "วัดสามจีน" ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดไตรมิตรวิทยาราม กำลังอยู่ในระหว่างการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ทั่วทั้งพระอารามโดยสร้าง วิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปเพิ่มเติม สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เจ้าคณะแขวงล่าง เห็นว่าจะปล่อยองค์พระพุทธรูปปูนปั้นให้อยู่ที่เดิมต่อไปจะเป็นการไม่สมควร ประกอบกับวัดสามจีนมีสถานที่กว้างขวาง เหมาะสมกับการประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ จึงมอบให้คณะฐิตวีโร (พระวิสุทธาธิบดี) น.อ.หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) ร.น.หลวงบริบาลเวชกิจ (ยู้ ลวาง**ล) นายสนิท เทวินทรภักดี ร่วมกันอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้จากวัดพระยาไกรมาประดิษฐานยังวัดสามจีน

พระพุทธรูปปูนปั้นจึงถูกอัญเชิญมาตั้งแต่นั้น โดยในขณะที่ยังบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามไม่แล้วเสร็จ คณะกรรมการวัดไปประดิษฐานองค์พระพุทธรูปไว้ข้างเจดีย์เป็นการชั่วคราว ในระหว่างนี้มีผู้มาขออัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดต่าง ๆ มากมาย แต่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ การก่อสร้างพระอาราม พระวิหารต่าง ๆ ในวัดสามจีนใช้เวลาเนิ่นนาน จนล่วงเลยไปถึง 20 ปี ใน พ.ศ. 2498 การบูรณะจึงเสร็จสิ้นเรียบร้อย

เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์พร้อม ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธาธิบดี เจ้าอาวาสซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระวีรธรรมมุนี ผู้ดำเนินการสร้างวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นจนแล้วเสร็จ ได้เป็นแม่กองเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปองค์นี้เพื่อนำขึ้นประดิษฐานยังพระวิหาร ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 การเคลื่อนย้ายเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากองค์พระมีขนาดใหญ่และหนัก ต้องใช้ปั้นจั่นยกองค์พระพุทธรูปขณะที่ทำการยกนั้นปรากฏว่าลวดสลิงที่ยึด องค์พระเกิดขาดเพราะทานน้ำหนักไม่ไหว องค์พระพุทธรูปกระแทกลงบนพื้นดินอย่างแรง พอดีกับเป็นเวลาใกล้ค่ำและฝนตกหนัก การอัญเชิญพระพุทธรูปในวันนั้นจึงหยุดชะงักลง

ในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ท่านเจ้าอาวาสได้มาตรวจดูองค์พระเพื่อหาทางอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ก็ได้พบเห็นรอยแตกที่พระอุระ แลเห็นรักที่ฉานผิวองค์พระด้านใน เมื่อแกะรักออกก็ได้พบเบื้องทองคำบริสุทธิ์งามจับตาอยู่ชั้นในสุด ท่านเจ้าอาวาสจึงสั่งการระดมผู้คนช่วยกันกะเทาะปูนและลอกรักออกหมดทั้งองค์ ความงดงามแห่งเนื้อทองบริสุทธิ์ขององค์พระปฏิมาจึงปรากฏให้เห็น พร้อมพุทธลักษณะที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง กลายเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สกุลช่างสุโขทัย ที่งดงามจับตาจับใจผู้พบเห็น

ความยากลำบากในการเคลื่อนย้ายหมดสิ้นลงเมื่อการคุ้ยดินได้ฐานทับเกษครออก และพบกุญแจสำหรับถอดองค์พระออกเป็นส่วน ๆ ได้ 9 ส่วน เพื่อสะดวกต่อการอัญเชิญขึ้นประดิษฐานยังพระวิหาร จึงดำเนินการถอดองค์พระออกแต่เพียง 4 ส่วน คือ ส่วนพระศอ ส่วนพระหัตถ์ทั้ง 2 ข้าง และส่วนพระนาภี ทำให้สามารถอัญเชิญพระพุทธรูปทองคำขึ้นประดิษฐานยังที่จัดเตรียมไว้โดยราบ รื่น
การค้นพบพระพุทธรูปทองคำปางมารวิชัยของวัดไตรมิตรวิทยารามใน ครั้งนั้น เป็นข่าวสำคัญครึกโครมไปทั่วทั้งประเทศ หนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ประโคมข่าวกันอย่างกว้างขวางท่ามกลางความปีติยินดีของพุทธศาสนิกชนทั่วหน้า มีการตรวจสอบและประเมินเนื้อทองคำ ขององค์พระพุทธรูปซึ่งเป็นทองคำบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองเนื้อเจ็ด น้ำสองขา (มาตราทองคำของไทยโบราณตั้งไว้ตั้งแต่ทองเมื้อสี่ คือทองคำหนัก 1 บาท จะมีค่า 4 บาท ทองเนื้อเจ็ด คือทองหนัก 1 บาท จะมีค่า 7 บาท ซึ่งเป็นทองคำที่มีค่าของเนื้อทองรองจากทองนพคุณหรือทองเนื้อเก้า ซึ่งทองเนื้อเก้าจะเริ่มพบที่บางตะพานในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ เรียกกันว่าทองคำบางตะพาน ส่วนคำว่าสองขา หมายถึง 2 สลึง) มีน้ำหนักกว่า 5 ตัน คิดเป็นน้ำหนักทองคำ 25,000 ปอนด์ หรือคิดเป็นมูลค่าเฉพาะเนื้อทองคำในขณะนั้น (พ.ศ.2498) 14 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 294,000,000 บาท อันเป็นราคาทองคำที่ถูกประเมินในครั้งแรก

พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร นับเป็นพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หนังสือกินเนสบุ๊ค ฉบับปี ค.ศ. 1991 (พ.ศ.2534) ได้ทำการประเมินค่าอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) และบันทึกไว้ว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ที่สุด มีมูลค่าเฉพาะเนื้อทองคำสูงถึง 21.1 ล้านปอนด์
จากหลักฐานที่ปรากฏอาจกล่าวได้ว่า พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตรเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ความประณีตของพุทธศิลปะ ความแยบยลของส่วนประกอบที่ทำเป็นกุญแจกล ความทรงค่ามหาศาลของเนื้อทองคำบริสุทธิ์ เป็นสิ่งซึ่งยากจะหาผู้ใดทำขึ้นได้ นอกจากพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าผู้ทรงมีพระบรมโพธิสมภารอันยิ่งใหญ่ จึงจะหล่อสร้างพระปฏิมาที่ล้ำเลิศเช่นนี้ได้สำเร็จ

องค์พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตรถูกหุ้มห่ออยู่ในปูนเป็นระยะเวลายาวนาน อาจกล่าวได้ว่า ผู้คนสมัยรัตนโกสินทร์ มิได้ทราบเลยว่าภายในพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ได้ซุกซ่อนพุทธปฏิมาอันงาม ล้ำเลิศและทรงค่ามหาศาล

การพอกปูนปิดองค์พระสำคัญไว้ เป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของผู้คนในสังคมไทยสมัยก่อน ที่ต้องการพิทักษ์ปกป้ององค์พระพุทธรูปและพุทธศาสนาไว้จากภัยอันตรายต่าง ๆ ซึ่งจะพบเห็นชัดเจนในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ที่พม่าได้สุมไฟลอกเอาทองจากองค์พระศรีสรรเพชญไปจนหมดสิ้น ผู้คนได้พยายามปกปิดหรือเคลื่อนย้ายองค์พระสำคัญ ๆ หลายต่อหลายองค์ จนเกิดเป็นตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ ที่ชาวบ้านช่วยกันนำองค์พระใส่แพไม้ไผ่อพยพหลบหลีกข้าศึก

สำหรับ "หลวงพ่อทองคำ" องค์นี้ มีข้อสันนิษฐานว่า การพอกปูนปิดองค์พระพุทธรูปคงจะกระทำขึ้นก่อนการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ใน พ. ศ.2325 และอาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาทุกฉบับ รวมทั้งเอกสารสมัยอยุธยาไม่มีข้อความที่กล่าวถึงพระพุทธรูปทองคำองค์นี้เลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการพอกปูนปิดองค์พระอาจกระทำมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเริ่ม ถูกครอบงำจากอำนาจของกรุงศรีอยุธยา และเสื่อมอำนาจลงอย่างสิ้นเชิงในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรลกนาถ จึงเป็นไปได้ที่คนสมัยกรุงศรีอยุธยาอาจพบเห็นเพียงองค์พระปูนปั้นประดิษฐาน อยู่ในวัดมหาธาตุ สุโขทัย เรื่อยมา

จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นสมัยที่มีการอัญเชิญพระพุทธรูปจาหัวเมืองต่าง ๆ มายังกรุงเทพมหานคร มากกว่า 1,248 องค์ พระพุทธรูปปูนปั้นที่หุ้มองค์หลวงพ่อสุโขทัยไตรมิตรไว้ คงจะถูกอัญเชิญมาในคราวเดียวกันนี้ ซึ่งโปรดฯให้อัญเชิญพระศรีศากยมุนีพระประธานวัดมหาธาตุ สุโขทัย มาประดิษฐานที่วัดสุทัศน์เทพวราราม และโปรดฯ ให้ประดิษฐานพระพุทธรูปจากหัวเมืองต่าง ๆ ไว้ ณ พระระเบียงวัดพระเชตุพนฯ ก่อนที่จะถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดพระยาไกร ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ใน ปัจจุบันพระพุทธรูปสุโขทัยไตรมิตร หรือหลวงพ่อทองคำประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารวัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยและต่างประเทศที่หลั่งไหลกันเข้ามาชมความงดงาม แห่งองค์พระปฏิมา ที่ทำจากเนื้อทองคำบริสุทธิ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอันประเมินค่ามิได้

นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวไทยทั้งประเทศต่อมรดกแห่งอารยธรรมไทยที่ยิ่งใหญ่ งดงาม อันเป็นประจักษ์พยานถึงความรุ่งโรจน์แห่งพุทธศิลปะ ฝีมือช่าง และพลังแห่งศรัทธาในบวรพุทธศาสนาที่สืบเนื่องเรื่อยมาจากอดีตจวบปัจจุบัน และเรื่อยไปยังอนาคตกาล (ขอบคุณเจ้าของข้อมูลครับ )
ราคาเปิดประมูล340 บาท
ราคาปัจจุบัน350 บาท ถึงราคาขั้นต่ำแล้ว
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลจ.25 ก.ค.2554 - 20:14:18 น.
วันที่ตั้งปิดประมูลจ.01 ส.ค.2554 - 20:14:00 น.
วันปิดประมูลจริงอ.26 ก.ค.2554 - 22:14:31 น. (ปิดประมูลแล้ว)  * กรณีมีการต่อเวลา-ลดเวลา
ผู้ตั้งประมูลขุนพลเมืองแพร่ (463)FeedbackIP Address : 110.168.152.118 ร้านค้าสมาชิก
หมายเลขโทรศัพท์09 9098 0899
บัญชีธนาคารธนาคารกรุงไทย สาขา เพชรเกษม 77/2 
ประเภท ออมทรัพย์/สะสมทรัพย์
หมายเลขบัญชี 191-0-16607-3
Social Network


ราคาปัจจุบัน :350 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :10 บาท

กรุณา Login เข้าสู่ระบบ จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !

Username :
Password :

สมัครสมาชิกใหม่


<< ปิดการประมูล >>
ผู้ชนะประมูลเด็กฝึกหัด(215)Feedback



รายการเสนอราคา
ผู้เสนอราคาราคาที่เสนอวัน-เวลาที่ให้ราคา
เด็กฝึกหัด (215)FeedbackIp Address : 1.46.223.64350 บาทจ.25 ก.ค.2554 - 22:14:31 น.  [ ถึงราคาขั้นต่ำแล้ว ]

Copyright © 2024 by AntigPra.Com