AntigPra.Com
หัวข้อกระทู้ :
โดยคุณ : (xx) โพสเมื่อ อ้างอิง

โดยคุณ คชรัตน์ควนโนรี (115.67.0.xx) โพสเมื่อ 2012-08-24 15:51:39 อ้างอิง

 

 ผู้เขียนขอแนะนำให้ นักสะสมพระเครื่องสายหลวงพ่อทวด หันมาพิจารณาแหวนหลวงพ่อทวดรูปโล่ ยันต์จม วัดช้างให้ รุ่นแรก ปี๒๕๐๖ เฉพาะที่เป็นเนื้ออัลปาก้า(ส่วนเนื้ออื่นยังไม่ขอกล่าวในที่นี้) ซึ่งเป็นรุ่นที่ทันพระอาจารย์ทิมปลุกเสกเหมือนกัน มีพุทธคุณเท่าเทียมกับพระยอดนิยมของวัดช้างให้ แต่จ่ายเงินน้อยกว่ากันมากมายหลายเท่าตัว แถมมีความพิเศษสุดยอด ที่พระเครื่องหลวงพ่อทวดรุ่นอื่นๆไม่มี ดังรายละเอียดต่อไปนี้


โดยคุณ คชรัตน์ควนโนรี (115.67.0.xx) โพสเมื่อ 2012-08-24 15:54:16 อ้างอิง


 

 แหวนหลวงพ่อทวดรูปโล่ห์ วัดช้างให้ รุ่นแรก เนื้ออัลปาก้านี้ ด้านหลังเป็นยันต์ภาษาบาลีปั๊มลงไปในเนื้อโลหะ อ่านได้ว่า “นะ มะ พะ ทะ” ซึ่งเป็นที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า “รุ่นยันต์จม”


  แหวนรุ่นนี้บ้างมียันต์ “อุ” นูนขึ้นมาด้านบนเหนือยันต์ นะ มะ พะ ทะ บ้างก็มีอักษรไทยอ่านได้ว่า “พระราชเขมากร”อยู่เบื้องล่างยันต์ นะ มะ พะ ทะ โดยส่วนมากแหวนรุ่นนี้ มียันต์อุ หรืออักษร พระราชเขมากร อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างปรากฎด้านหลัง (ดูภาพประกอบ) เนื่องจากขบวนการปั๊มขึ้นรูปพระต้องปั๊มหลายครั้ง จึงจะทำให้แหวนออกมาสมบูรณ์ มีผลให้ทั้งยันต์ อุ และอักษร พระราชเขมากร ด้านหลังแหวนบี้แบนมากขึ้นตามจำนวนครั้งที่ปั๊ม ทำให้เห็นชัดบ้างไม่ชัดบ้าง แหวนบางวงเห็นรางๆ หรือไม่เห็นเลย



โดยคุณ คชรัตน์ควนโนรี (115.67.0.xx) โพสเมื่อ 2012-08-24 15:56:31 อ้างอิง

 

 จากทั้งอักษรไทยและภาษาบาลีดังกล่าว เมื่อไปสืบสาวหาความจริง ปรากฎว่า นาม “พระราชเขมากร” เป็นชื่อสมณศักดิ์ของเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร รูปหนึ่ง (ชื่อเดิม “พระมหาก่อ บุญขันธ์”) ครองวัดในช่วงปี ๒๔๘๘ - ๒๕๐๖ โดยได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็น “พระราชเขมากร” เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๒ หลังจากนั้นท่านได้จัดสร้างเหรียญรูปใบโพธิ์ เป็นเนื้ออัลปาก้า ด้วยกรรมวิธีการปั๊ม ในปี ๒๕๐๓ การสร้างเหรียญแบบนี้จะมีปีกล้นออกด้านข้าง ช่างจะต้องคัดเลือกเหรียญที่สวยสมบูรณ์นำไปตัดปีกออก จึงได้เหรียญรูปใบโพธิ์ดังกล่าว


โดยคุณ คชรัตน์ควนโนรี (115.67.0.xx) โพสเมื่อ 2012-08-24 15:59:25 อ้างอิง

 

 แล้วทำไมชื่อสมณศักดิ์ พระราชเขมากร ถึงได้มาปรากฎด้านหลังแหวนหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ปี ๒๕๐๖ ซึ่งเป็นวัตถุมงคลต่างวัดกัน สันนิษฐานว่า การสร้างเหรียญรูปใบโพธิ์ เนื้ออัลปาก้า ซึ่งเป็นโลหะที่แข็งมาก ทำได้ยุ่งยาก จึงทำให้ได้ทั้งเหรียญสวยและเหรียญไม่สมบูรณ์ ดังนั้นคงจะมีการคัดเหรียญไม่สวยออกไปมาก ปรากฏว่าหลังจากนั้น พระราชเขมากร อดีตเจ้าอาวาสวัดโสธรฯ ไม่ได้จัดสร้างเหรียญพระเครื่องด้วยเนื้ออัลปาก้าอีกเลย จนกระทั่งท่านได้มรณภาพ

  ขณะเดียวกัน ในช่วงปี ๒๕๐๖ ทางวัดช้างให้ ต้องการจัดสร้างแหวนหลวงพ่อทวด เนื้ออัลปาก้า (เนื้ออื่นๆ ก็มี) จึงได้จ้างให้โรงงานผลิต ปรากฏว่าเป็นโรงงานเดียวกันกับที่สร้างเหรียญรูปใบโพธิ์ของวัดโสธรฯ เนื้ออัลปาก้า ดังกล่าวข้างต้น ทางโรงงานจึงได้นำแผ่นโลหะอัลปาก้าซึ่งเป็นเหรียญรูปใบโพธิ์ของวัดโสธรฯ ที่ไม่สมบูรณ์และยังไม่ได้ตัดปีกออก นำมาปั๊มแหวนหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ปี ๒๕๐๖ เป็นการปั๊มขึ้นรูปซ้อนเป็นครั้งที่ ๒ แล้วจึงนำไปตัดปีกด้านข้างออก หลังจากนั้นดัดโค้งงอเข้าหากันเพื่อเชื่อมให้ติดกันกลายเป็นแหวน


โดยคุณ คชรัตน์ควนโนรี (115.67.0.xx) โพสเมื่อ 2012-08-24 16:02:27 อ้างอิง


 

 แหวนหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ รูปโล่ รุ่นแรก ปี ๒๕๐๖ มี ๑ เสมือนได้ ๒(TWO IN ONE) ด้วยเหตุผลว่า ๑.ได้ปั๊มขึ้นรูปหลวงพ่อโสธรมาก่อนแล้ว แม้ว่าจะไม่ได้รับการปลุกเสกที่วัดโสธรฯก็ตาม ๒.หลังจากนั้นได้นำมาปั๊มขึ้นรูปหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ซึ่งปลุกเสกโดยพระอาจารย์ทิม ธมฺมธโร ถือได้ว่า แหวนรุ่นนี้ มีพระเครื่องที่สุดยอดของประเทศไทยถึง ๒ องค์ รวมอยู่ในแหวนวงเดียวกัน อนาคตแหวนหลวงพ่อทวด รุ่นนี้ เชื่อแน่ว่ายังไปได้อีกไกล...

 ข้อความทั้งหมดนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ท่านผู้อ่านหรือนักสะสมพระเครื่องหลวงพ่อทวดท่านอื่นๆ อาจจะมีความคิดเห็นแตกต่างไปจากนี้ก็ได้

...ขอขอบพระคุณ  คชรัตน์ ควนโนรี (วิจิตร ปิยะศิริโสฬส แพะ สงขลา)



Username :
Password :

สมัครสมาชิกใหม่

Copyright © 2024 by AntigPra.Com